ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์
เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8
สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์
ธงชาติ
ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง
ที่มุมด้านบนของคันธงเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉกจำนวน 5 ดวง
เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยวและดาว 5 แฉก มีสีขาว สีแดง
หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึง
ความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว
ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น และดาว 5
ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า
ความยุติธรรมและความเสมอภาค
ตราสัญลักษณ์
เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดง ภายในโล่มีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง
และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์
เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย
และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์
ด้านล่างของตราเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า
"Majulah
Singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ”
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss
Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์
คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์
มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี
โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสิงคโปร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of
Singapor
ที่ตั้ง :
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ :
ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง (English/Mandarin
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore
Dollar, SGD)
พื้นที่ : 276 ตารางไมล์ (716
ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 5,399,200 คน
การปกครอง :
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
Time Zone : UTC+8
(เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 348,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 64,584
ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +65
ประวัติ
ในศตวรรษที่ 3 ของประวัติศาสตร์จีน
มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า
เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา
อุตามา (Sang Nila
Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยประเทศอินโดนีเซีย)
เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่
และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura)
ในพ.ศ.2054
สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
ในพ.ศ.2434 เซอร์ สแตมฟอร์ด
ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก
(The British East India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์
โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์และจัดตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี
สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง
และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นแต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม
สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกครั้ง
ในพ.ศ.2506
สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซีย
ในพ.ศ.2508
สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า
และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงสุด
การเมืองการปกครอง
สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัดและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย
สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน
ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญก็จะเป็นพวก พลังงาน อาหาร และวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม
เช่น ยางพารา
ภูมิประเทศ
ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา
โดยภาคกลางจะมีเนินเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญของสิงคโปร์
พื้นที่บริเวณชายฝั่งของสิงคโปร์จะมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ
ภูมิอากาศ
สิงคโปร์อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุก
ประเทศนี้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่มีการแบ่งแยกฤดูกาลที่ชัดเจน ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคมจะเป็นช่วงมรสุม
ประชากร
มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน
เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
และประชากรก็มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน
รองลงมาจะเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย)
โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์
ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้
และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น