วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)

ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนร่วมกับอีก 4 มิตรประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ภายหลังการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ

ข้อมูลทั่วไปของประเทศอินโดนีเซีย


ธงชาติ

    ธงชาติมีชื่อว่า ซังเมราห์ปูติห์” (Sang Merah Putih)  สีแดง-ขาว เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง  2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน  โดยสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและอิสรภาพ และสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ตราสัญลักษณ์


     "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑ มีขนปีกข้างละ 17 ขน ขนหาง 8 ขน  โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑมีรูปโล่ซึ่งแบ่งเป็นสี่ส่วนและมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ช่องซ้ายบนมีรูปหัวควายป่า หมายถึง ประชาชน ช่องขวาบนมีรูปต้นไทร หมายถึง ลัทธิชาตินิยม ช่องซ้ายล่างมีรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว หมายถึง ความยุติธรรมในสังคม และช่องขวาล่างมีสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม หมายถึง หลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด ส่วนกลางมีสีดำมีโล่ขนาดเล็กสีขาวบรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า เท้าของพญาครุฑจับแพรแถบสีขาวบรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่าความว่า "Bhinneka Tunggal lka"  แปลว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"


ดอกไม้ประจำชาติ

 ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย









ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Indonesia
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ภาษาราชการ : ภาษาอินโดนีเซีย (Indonesian)
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah, IDR)
พื้นที่ : 735,358 ตารางไมล์ (1,904,569 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 253,603,649 คน
การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
Time Zone : UTC+7 ถึง +9 (กรุงจาการ์ต้าใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย)
GDP : 2.388 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 9,559 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +62

ประวัติ

ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 30 หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ 13,677 เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโด หมายถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ 5,100 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร

เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร  เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ 189,200 ตารางกิโลเมตร  เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ 422,000 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ    

หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ
ส่วนที่ 1  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 720 ฟุต
ส่วนที่ 2  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน 700 ฟุต
ส่วนที่ 3  บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะซาแตงการา มาลูกูสุลาเวสี มีความลึกของระดับน้ำถึง 15,000 ฟุต

ภูเขา

ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ 100 ลูก จากจำนวนประมาณ 400 ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้
ภูเขาเกรินยี  อยู่บนเกาะสุมาตรา สูง 12,460 ฟุต
ภูเขาเซมารู  อยู่บนเกาะชวา สูง 12,040 ฟุต
ภูเขาแรนโตคอมโบรา  อยู่บนเกาะสุลาเวสี สูง 11,300 ฟุต
ภูเขาปุมจักชวา  อยู่บนเกาะอิเรียนจายา สูง 16,000 ฟุต

ที่ราบ

โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา

แม่น้ำและทะเลสาบ  เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาบอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคัญได้แก่
บนเกาะสุมาตรา   มีแม่น้ำมุสิ แม่น้ำบาตังฮาริ และแม่น้ำกำปา
บนเกาะกาลิมันตัน  มีแม่น้ำดาพัวส์ แม่น้ำมาริโต แม่น้ำมหกรรม และแม่น้ำงาจัง
บนเกาะชวา  มีแม่น้ำเบนกาวันโซโล แม่น้ำซิตาวัม และแม่น้ำบราตัส
ทะเลสาบที่สำคัญ ๆ ส่วนมากจะอยู่บริเวณกลางเกาะคือ
บนเกาะสุมาตรา  มีทะเลสาบโตมา ทะเลสาบมาบินิจอ  และทะเลสาบซิงการัก
บนเกาะสุลาเวสี  มีทะเลสาบเทมบิ ทะเลสาบโทวูติ ทะเลสาบสิเดนเรว ทะเลสาบปูโซ ทะเลสาบลิมลิมโบโต และทะเลสาบตันตาโน
บนเกาะอิเรียนจายา  มีทะเลสาบพิเนีย และทะเลสาบเซนตานี

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมด 251,170,193 คน โดยการประมาณการของสหประชาชาติ

เชื้อชาติ

ณ ที่นั้น ความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ 300 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ และภาษาพื้นเมือง และสำเนียงท้องถิ่น ที่แตกต่างกันถึง 742 ภาษา ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าทีพูดตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึง ภาษาโปรโต-ออสโตรเนเชียน ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดในไตหวัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเชียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะปาปัว ภาคตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวชวา คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลักๆ ที่มีจำนวนพอๆกับชาวชวา เช่น ชาวซุนดา ชาวมาเล และชาวมาดูรา จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนิเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชุนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราวๆ 3-4 % ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย

ศาสนา

ในปี ค.ศ. 2010  ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาอิสลาม 87.2% ศาสนาคริสต์ 9.9% ศาสนาฮินดู 1.7% ศาสนาพุทธ 0.7% ลัทธิขงจื๊อและศาสนาอื่น ๆ 0.2%

เศรษฐกิจ

ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำให้อินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น