วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

ประเทศเวียดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

ข้อมูลทั่วไปของประเทศเวียดนาม


ธงชาติ

พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง หมายถึง ชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนามและสีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม  แต่ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519  ได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม


ตราสัญลักษณ์


มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าว หมายถึง ความร่วมมือระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออก และตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519


ดอกไม้ประจำชาติ

ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง

ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Socialist Republic of Vietnam
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Ha Noi)
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
สกุลเงิน : ด่ง (Dong, VND)
พื้นที่ : 128,565 ตารางไมล์ (331,210 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 89,693,000 คน
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 358,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 4,001 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +84

ประวัติ

ประเทศเวียดนาม (เวียดนาม: Vit Nam 越南) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cng hòa xã hi ch nghĩa Vit Nam 共和社會主義越南, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนาม: Bin Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาประเทศยังคงมีประสบการณ์ระดับสูงของความไม่เท่าเทียมกันของรายได้, ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการขาดความเท่าเทียมกันทางเพศ


ภูมิศาสตร์

เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000

ลักษณะภูมิประเทศ

  • มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีปริมาณฝนจาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส

การเมืองการปกครอง

1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพและเอกภาพสูง อีกทั้งมีการกระจายอำนาจการบริหารในทางเศรษฐกิจแก่แต่ละจังหวัดเพื่อพัฒนา และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในการเปลี่ยนผู้นำครั้งล่าสุดภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคมิวนิสต์ เวียดนามสมัยที่ 10 เมื่อปี 2549 ได้มีการเลือกตั้งผู้นำที่มาจากทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
2.ที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติเวียดนาม สมัยที่ 12 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ได้ให้การรับรองสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จำนวน 493 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 876 คน เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติหน้าใหม่ 345 คน โดยได้เลือกผู้นำเวียดนาม 3 คน ได้แก่ นายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรี นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และนายเหวียน มินห์ เจี๊ยต ประธานาธิบดี ซึ่งได้คะแนนเสียงร้อยละ 99.1 91.2และ 89.7 ตามลำดับ และเลือกคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีจำนวน 5 คน และรัฐมนตรีจำนวน 22 คน รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 80 ขึ้นไป

เศรษฐกิจและสังคม

เวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงและขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2529 ปัจจุบันเวียดนามพยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550
ในการพัฒนา ประเทศ เวียดนามได้ดำเนินการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งสรุปเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปี ดังนี้
(1) ดำเนินการตามนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) เพื่อให้อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตร้อยละ 8 หรือมากกว่าภายในปี 2553 (ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 94 - 98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
(2) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยมเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและทันสมัยภายในปี 2563
(3) พัฒนา knowledge - based economy
(4) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เวียดนามมีนโยบายเน้นหนักเรื่องการส่งเสริมธุรกิจเอกชน เร่งปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และเชิญชวนนักลงทุนจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน เวียดนามประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารชาติเวียดนามต้องประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาโดยปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยพื้นฐานจากร้อยละ12 เป็นร้อยละ 14 และประกาศปรับความเคลื่อนไหวในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินด่องกับดอลลาร์สหรัฐ ไม่เกินร้อยละ 2 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 6.5 ในขณะที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 26.8 ในเดือนมิถุนายน 2551
ด้านการค้าระหว่างประเทศ เวียดนามยังคงขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เป็นมูลค่า 16,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการนำเข้า 45,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และส่งออก 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การแก้ไขภาวะการขาดดุลการค้าเป็นปัญหาท้าทายสำหรับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง
เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าประมงเป็นสำคัญ
โดย ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับสองรองจากไทย (ประมาณ 3-4 ล้านตันต่อปี) ส่งออกพริกไทยดำและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มากที่สุดในโลก ส่งออกกาแฟเป็นอันดับสองของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบมากเป็นอันดับสามในเอเชีย
นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีความมั่นใจในศักยภาพและบรรยากาศการลงทุนใน เวียดนาม โดยสะท้อนในรูปของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 31,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 3.7 เท่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมากอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การสำรอง เงินตราต่างประเทศของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบ 2 เท่าในรอบปีที่ผ่านมา

ประชากร

 มีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือ ประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตัวเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว

ภูมิประเทศ

พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้

ภูมิอากาศ

เวียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม เมษายน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น