วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเทศกัมพูชา



ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นลำดับสุดท้าย คือลำดับที่ 10 ทั้งๆที่ยื่นความจำนงเข้ามาพร้อมกับลาวและพม่า (ลำดับที่ 8 และ 9) แต่เนื่องจากความไม่สงบภายในประเทศ จึงต้องมีการเลื่อนการพิจารณาออกไป จนเมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว กลุ่มอาเซียนจึงรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

ข้อมูลทั่วไปของประเทศกัมพูชา


ธงชาติ

 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งตามแนวยาวเป็น 3 แถบ ตรงกลางเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง แถบนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างด้านละ 1 ส่วน สัญลักษณ์ในธงสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์สีแดง หมายถึง ชาติ ปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพและศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์


ตราสัญลักษณ์

 เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้าอัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎ ซึ่งอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia)  ด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ถือโดยคชสีห์ทางด้านซ้ายและด้านขวา ล่างสุดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "พระเจ้ากรุงกัมพูชา" ด้วยอักษรเขมร

ดอกไม้ประจำชาติ


กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ



ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรกัมพูชา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Kingdom of Cambodia
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : พนมเปญ (Phnom Penh)
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
สกุลเงิน : เรียลกัมพูชา (Riela, KHR)
พื้นที่ : 69,898 ตารางไมล์ (181,035 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 15,205,539 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 17,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 1,108 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +855

ประวัติ

กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (เขมร: ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พระราชอาณาจักรกัมพูชา "พระราชอาณาจักรกัมพูชา") เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย
ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจามและชาวเขากว่า 30 เผ่า[5] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา
ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี
ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคั่งมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติสืบต่อกันมานั้นได้มีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดเดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง

ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ ประเทศกัมพูชาได้มีหนึ่งในบันทึกเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศ[6] ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา และเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมันสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างลึกซึ้ง

การเมือง

สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด

ภูมิประเทศ

ทะเลสาบยักษ์ลูม
โตนเลสาบ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม
กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ

แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด

ภูเขา

ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น

ป่าไม้

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่นส่วนในลาวนั้นก็ตกกำลังอยู่สภาวะเดียวกัน

ภูมิอากาศ

มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ

แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้

สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์

เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา

ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547)

ประชากร

ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศกัมพูชามีประชากร 15,205,539 คน กว่าร้อยละ 90 มีเชื้อสายเขมรและพูดภาษาเขมรอันเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศได้แก่ชาวเวียดนาม ร้อยละ 5 และชาวจีน ร้อยละ 1นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายไทยในจังหวัดเกาะกง[13][14][15] ชาวจามในจังหวัดกำปงจามและจังหวัดกระแจะ ชาวลาวในจังหวัดรัตนคิรีและจังหวัดสตึงแตรง และชนเผ่าทางตอนเหนือต่อชายแดนประเทศลาวที่เรียกรวม ๆ ว่า แขมรเลอ

อัตราการเกิดของประชากรเท่ากับ 25.4 ต่อ 1,000 คน อัตราการเติบโตของประชากรเท่ากับ 1.7% สูงกว่าของประเทศไทย, เกาหลีใต้ และอินเดียอย่างมีนัยยะสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น