ประเทศเมียนมาร์ (Myanmar)
ประเทศพม่า เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 9 เมื่อวันที่
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (วันเดียวกับประเทศลาว)
ข้อมูลทั่วไปของประเทศพม่า
ธงชาติ
แบ่งเป็น 3
แถบตามความยาวของธงโดยมีความกว้างเท่ากัน แต่ละส่วนมีสีต่างกันจากด้านบนลงล่าง คือ
สีเหลือง สีเขียวและสีแดง กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉกสีขาวขนาดใหญ่ สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ
และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
และดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ตราสัญลักษณ์
ประกอบด้วยรูปสิงห์แบบศิลปะพม่า จำนวน 2 ตัว นั่งรักษาการณ์หันหลังให้กัน
ตรงกลางมีภาพแผนที่ประเทศพม่ารองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่
ล้อมรอบด้วยลวดลายบุปผชาติตามแบบศิลปะพม่า ด้านบนสุดเป็นรูปดาวห้าแฉก
ด้านล่างรองรับด้วยม้วนแพรแถบจารึกชื่อของประเทศด้วยภาษาพม่า
"สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า"
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า
มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น
ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน
และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Union of Myanmar
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : เนปิดอ (Naypyidaw)
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า (Burmese)
สกุลเงิน : จ๊าต (Kyat, MMK)
พื้นที่ : 261,227 ตารางไมล์ (676,578 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 51,419,420 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
Time Zone : UTC+6:30 (ช้ากว่าประเทศไทยครึ่งชั่วโมง)
GDP : 111,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 1,711 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +95ประวัติ
พม่า หรือ เมียนมา (อังกฤษ: Myanmar, พม่า: မြန်မာ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar; พม่า: ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, [pjìdàuɴzṵ θàɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀] ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ)
เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว
และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930
กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก
และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28
ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491
การเมืองการปกครอง
ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก
ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร
คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554
หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน
แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า
รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืน แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์
และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง
พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า
ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ
เศรษฐกิจ
ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร
แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี
ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป
สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า
ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวร้ายที่สุดในโลก
องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย เกษตรกรรม
เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง
แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน
อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก
การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ
ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา
อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย
เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
ประชากร เชื้อชาติและศาสนา
ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ 46
ล้านคน อยู่รวมกันทั้งสิ้น 135 ชาติพันธุ์ในจำนวนนี้ มีชนเผ่าพม่ามากที่สุด คือประมาณ 1 ใน 4 ส่วน รองลงมาก็คือ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และกะฉิ่น
ตามลำดับ
สำหรับรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด
ก็คือรัฐฉาน เนื่องจากมีชนเผ่าอยู่รวมกันถึงประมาณ 80 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่
ไทยน้อย ไทยทนุ อินตา ลีซอ อาข่า ม้ง จีนฮ่อ ฯลฯ
เชื้อชาติของชนเผ่าพม่าเป็นเชื้อชาติผสมพยู
มองโกล และอินเดีย ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในเมียนมาร์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ถือได้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติสัดส่วนของการนับถือศาสนามีดังนี้
ศาสนาพุทธ 89 เปอร์เซ็นต์
คริสต์ทุกนิกายรวมกัน 5.6 เปอร์เซ็นต์
อิสลาม 3.8 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู
0.5 เปอร์เซ็นต์
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน
อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร
สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น
ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย
ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี
ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น