วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

ประเทศเวียดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

ข้อมูลทั่วไปของประเทศเวียดนาม


ธงชาติ

พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง หมายถึง ชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนามและสีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม  แต่ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519  ได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม


ตราสัญลักษณ์


มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าว หมายถึง ความร่วมมือระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออก และตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519


ดอกไม้ประจำชาติ

ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง

ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Socialist Republic of Vietnam
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Ha Noi)
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
สกุลเงิน : ด่ง (Dong, VND)
พื้นที่ : 128,565 ตารางไมล์ (331,210 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 89,693,000 คน
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 358,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 4,001 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +84

ประวัติ

ประเทศเวียดนาม (เวียดนาม: Vit Nam 越南) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cng hòa xã hi ch nghĩa Vit Nam 共和社會主義越南, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนาม: Bin Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาประเทศยังคงมีประสบการณ์ระดับสูงของความไม่เท่าเทียมกันของรายได้, ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการขาดความเท่าเทียมกันทางเพศ


ภูมิศาสตร์

เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000

ลักษณะภูมิประเทศ

  • มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีปริมาณฝนจาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส

การเมืองการปกครอง

1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพและเอกภาพสูง อีกทั้งมีการกระจายอำนาจการบริหารในทางเศรษฐกิจแก่แต่ละจังหวัดเพื่อพัฒนา และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในการเปลี่ยนผู้นำครั้งล่าสุดภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคมิวนิสต์ เวียดนามสมัยที่ 10 เมื่อปี 2549 ได้มีการเลือกตั้งผู้นำที่มาจากทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
2.ที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติเวียดนาม สมัยที่ 12 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ได้ให้การรับรองสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จำนวน 493 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 876 คน เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติหน้าใหม่ 345 คน โดยได้เลือกผู้นำเวียดนาม 3 คน ได้แก่ นายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรี นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และนายเหวียน มินห์ เจี๊ยต ประธานาธิบดี ซึ่งได้คะแนนเสียงร้อยละ 99.1 91.2และ 89.7 ตามลำดับ และเลือกคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีจำนวน 5 คน และรัฐมนตรีจำนวน 22 คน รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 80 ขึ้นไป

เศรษฐกิจและสังคม

เวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงและขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2529 ปัจจุบันเวียดนามพยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550
ในการพัฒนา ประเทศ เวียดนามได้ดำเนินการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งสรุปเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปี ดังนี้
(1) ดำเนินการตามนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) เพื่อให้อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตร้อยละ 8 หรือมากกว่าภายในปี 2553 (ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 94 - 98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
(2) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยมเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและทันสมัยภายในปี 2563
(3) พัฒนา knowledge - based economy
(4) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เวียดนามมีนโยบายเน้นหนักเรื่องการส่งเสริมธุรกิจเอกชน เร่งปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และเชิญชวนนักลงทุนจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน เวียดนามประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารชาติเวียดนามต้องประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาโดยปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยพื้นฐานจากร้อยละ12 เป็นร้อยละ 14 และประกาศปรับความเคลื่อนไหวในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินด่องกับดอลลาร์สหรัฐ ไม่เกินร้อยละ 2 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 6.5 ในขณะที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 26.8 ในเดือนมิถุนายน 2551
ด้านการค้าระหว่างประเทศ เวียดนามยังคงขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เป็นมูลค่า 16,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการนำเข้า 45,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และส่งออก 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การแก้ไขภาวะการขาดดุลการค้าเป็นปัญหาท้าทายสำหรับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง
เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าประมงเป็นสำคัญ
โดย ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับสองรองจากไทย (ประมาณ 3-4 ล้านตันต่อปี) ส่งออกพริกไทยดำและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มากที่สุดในโลก ส่งออกกาแฟเป็นอันดับสองของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบมากเป็นอันดับสามในเอเชีย
นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีความมั่นใจในศักยภาพและบรรยากาศการลงทุนใน เวียดนาม โดยสะท้อนในรูปของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 31,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 3.7 เท่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมากอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การสำรอง เงินตราต่างประเทศของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบ 2 เท่าในรอบปีที่ผ่านมา

ประชากร

 มีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือ ประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตัวเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว

ภูมิประเทศ

พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้

ภูมิอากาศ

เวียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม เมษายน)

ราชอาณาจักรไทย

ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

ประเทศไทย นอกจากจะเป็นสมาชิก 5 ชาติแรกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนแล้ว ยังเป็นเจ้าภาพในการลงนามเพื่อสร้างข้อตกลงในการสร้างกลุ่มอาเซียนขึ้นมาด้วย โดยการลงนามนี้เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่พระราชวังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงเทพคือบ้านเกิดของอาเซียน

ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย

ธงชาติ

     ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนด้านล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ สีแดง หมายถึง ชาติ  สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์



ตราสัญลักษณ์
 ตราแผ่นดินของไทย คือ พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์  ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ  โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453



ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น


ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรไทย
ชื่อภาษาอังกฤษ : The Kingdom of Thailand
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ภาษาราชการ : ภาษาไทย (Thai)
สกุลเงิน : บาท (Thai Baht, THB)
พื้นที่ : 198,115 ตารางไมล์ (513,115 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 64,785,909 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
Time Zone : UTC+7
GDP : 673,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 9,874 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +66

ประวัติ

ประเทศไทยหรือชนชาติไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และในแผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ก็มีอาณาจักรโบราณอยู่มากมาย เช่น อาณาจักรขอมโบราณ อาณาจักรทวาราวดี และอาณาจักรศรีวิชัย เป็นต้น ตามพงศาวดารของไทย ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปจนถึงอาณาจักรโยนกและน่านเจ้า แต่หลักฐานต่างๆไม่ชัดเจนนัก ดังนั้นเราจึงนับประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยจากหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น นั่นก็คือนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา
นับจากอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา ประเทศไทยได้ผ่านยุคหรืออาณาจักรต่างๆมาแล้ว 4 ยุค ดังนี้
1. สมัยอาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 1792 ถึง พ.ศ. 1981 รวม 189 ปี ก่อนที่สุดท้ายจะถูกยุบรวมกับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยถูกสถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และถือว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของชาติไทย อาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 8 พระองค์ รวมถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชผู้ทรงคิดค้นอักษรไทยด้วย
2. สมัยอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาได้เริ่มสถาปนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งด้วย อาณาจักรอยุธยาเจริญรุ่งเรืองอยู่ 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งหมด 33 พระองค์ โดยเสียกรุงให้กับพม่าจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ.2112 ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ (อยุธยาตกเป็นประเทศราชของพม่าเป็นเวลา 15 ปี) ต่อมาอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เมื่อปี พ.ศ. 2310 และครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลา 6 เดือนในการกอบกู้เอกราชคืน
3. สมัยกรุงธนบุรี
ภายหลังกอบกู้เอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากอยุธยาลงมายังเมืองธนบุรี เนื่องจากอยู่ในชัยภูมิที่ดีกว่า ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายหนักจากการโจมตีของพม่า จนยากจะบูรณะให้งดงามดังเดิมได้ อาณาจักรกรุงธนบุรีตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี (ปัจจุบันถูกผนวกรวมกับจังหวัดพระนครแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานคร แต่คนส่วนใหญ่ยังเรียกส่วนที่เคยเป็นจังหวัดธนบุรีว่า ฝั่งธนบุรีหรือฝั่งธน) ระยะเวลาการตั้งอยู่ของอาณาจักรธนบุรีเพียงแค่ 15 ปี และมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว
4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ภายหลังการสิ้นสุดลงของอาณาจักรกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ย้ายเมืองหลวงข้ามฝั่งมายังฝั่งพระนครและทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ ซึ่งก็คือพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน นับจนถึงปัจจุบันกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 232 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา และนับจนถึงปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติเป็นพระองค์ที่ 9 หรือรัชกาลที่ 9 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์รมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ ในหลวงองค์ปัจจุบันนั่นเอง โดยทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2489 และทรงครองราชย์มาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 68 นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก

ประชากรเชื้อชาติและภาษา


ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ณ สิ้นปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 64,456,695 คน แบ่งเป็นชาย 31,700,727 คน และหญิง 32,755,968 คน
ประเทศไทยถือได้ว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดประเทศหนึ่ง ประชากรไทยมีพื้นเพมาจากเชื้อชาติดังนี้ ไทยแท้ (หรือไทยสยาม) ไทยเชื้อสายลาว ไทยเชื้อสายมอญ ไทยเชื้อสายเขมรชาวไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายมลายู ไทยเชื้อสายชวา (หรือแขกแพ) ไทยเชื้อสายจาม (หรือแขกจาม) ไทยเชื้อสายเวียดนาม ไทยเชื้อสายพม่า และไทยเชื้อสายชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแรงงานต่างด้าวอีกไม่น้อยกว่า 3 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเป็นแรงงานถูกกฎหมายเพียง 1,400,000 คน ที่เหลือเป็นแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ แต่ในภาษาพูดประชาชนนิยมใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารกัน ภาษาถิ่นในประเทศไทยมีนับร้อยภาษา โดยที่ภาษาถิ่นที่มีผู้ใช้มาก เช่น ภาษาไทยเหนือ หรือ ภาษาคำเมือง ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยใต้ ภาษายาวี ภาษาลาว (ลาวโซ่ง ลาวพวน) ภาษาเขมร ภาษาไทยโคราช ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลาง ภาษามอญ ภาษาชาวเขาต่างๆ (กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง มูเซอ ลีซอ) ภาษามอแกน และภาษาประจำถิ่นอื่นๆ

ศาสนาในประเทศไทย

ในประเทศไทย ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ตามแต่ศรัทธาของตน โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาที่มีผู้นับถือมากและได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลและองค์พระมหากษัตริย์ได้แก่
- ศาสนาพุทธ ในประเทศไทยมีผู้นับศาสนาพุทธ 93.83%
- ศาสนาอิสลาม ในประเทศไทยมีผู้นับศาสนาอิสลาม 4.56%
- ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทยมีผู้นับศาสนาคริสต์ 0.80%
- ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในประเทศไทยมีผู้นับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.086%
- ศาสนาซิกข์ ในประเทศไทยมีผู้นับศาสนาซิกข์ 0.011%
หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ

การเมืองการปกครอง

ในปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศกัมพูชา และอีกหลายๆประเทศในยุโรป โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงใช้อำนาจผ่าน 3 ทาง หรือ 3 ฝ่าย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านทางนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา และทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาลยุติธรรม
ในอดีตประเทศไทยเคยใช้การปกครองระบอบอื่นมาแล้ว 2 ระบบคือ ระบอบพ่อปกครองลูกซึ่งใช้ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย ในการปกครองระบอบนี้พระมหากษัตริย์จะเปรียบเสมือนพ่อและไพร่ฟ้าประชาชนจะเปรียบเสมือนลูก จากนั้นเปลี่ยนมาใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในสมัยอาณาจักรอยุธยาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 แห่งจักรีบรมราชวงศ์ ในระบอบนี้จะเปรียบพระมหากษัตริย์เหมือนสมมุตติเทพ และเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจของประเทศไทย

ประเทศไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจและดัชนีชี้วัดฐานะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจดังนี้
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 11.38 ล้านล้านบาท สูงขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2555
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2556 เท่ากับ 2.9%
- รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร $7,130/คน/ปี หรือเท่ากับ 228,160 บาท/คน/ปี คิดเป็น 19,013 บาท/คน/เดือน สูงเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย
- ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 167,545.84 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ข้อมูลถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557ธนาคารแห่งประเทศไทย)
- ตลาดหุ้นไทย มีขนาด Market Cap. 13,061,940.80 ล้านบาท (ข้อมูลถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2557ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.2% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.0% (ข้อมูลปี พ.ศ. 2556ธนาคารแห่งประเทศไทย)
- อัตราการว่างงาน 0.6% (ข้อมูลปี พ.ศ.2556สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
- ผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม 12,604,890 คน (รวมทั้งแบบภาคบังคับและแบบสมัครใจ ข้อมูลถึง 30 เมษายน 2557)
- ยอดส่งออก 553,000 ล้านบาท ยอดนำเข้า 606,558 ล้านบาท ขาดดุลสุทธิ 53,558 ล้านบาท (ข้อมูลถึง 30 เมษายน 2557กระทรวงพานิชย์)
- ยอดหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลไทย 3,884,155 ล้านบาท (ข้อมูลถึง 30 เมษายน 2557ธนาคารแห่งประเทศไทย)
- ยอดหนี้สาธารณะ 5,583,828.29 ล้านบาท (ข้อมูลถึง 30 เมษายน 2557 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ)

ประเทศสิงคโปร์


ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ

ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์


ธงชาติ

     ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธงเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉกจำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยวและดาว 5 แฉก มีสีขาว สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น และดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรมและความเสมอภาค

ตราสัญลักษณ์

     เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดง ภายในโล่มีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า "Majulah Singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ


ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)


ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสิงคโปร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Singapor
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง (English/Mandarin
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
พื้นที่ : 276 ตารางไมล์ (716 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 5,399,200 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 348,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 64,584 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +65

ประวัติ

ในศตวรรษที่ 3 ของประวัติศาสตร์จีน มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา อุตามา (Sang Nila Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยประเทศอินโดนีเซีย) เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura)
ในพ.ศ.2054 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
ในพ.ศ.2434 เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (The British East India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์ โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์และจัดตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นแต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกครั้ง
ในพ.ศ.2506 สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซีย
ในพ.ศ.2508 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงสุด

การเมืองการปกครอง

สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ

เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัดและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญก็จะเป็นพวก พลังงาน อาหาร และวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา

ภูมิประเทศ

ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา โดยภาคกลางจะมีเนินเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญของสิงคโปร์ พื้นที่บริเวณชายฝั่งของสิงคโปร์จะมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ

ภูมิอากาศ

สิงคโปร์อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุก ประเทศนี้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่มีการแบ่งแยกฤดูกาลที่ชัดเจน ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และในช่วงเดือนพฤศจิกายน มกราคมจะเป็นช่วงมรสุม

ประชากร


มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และประชากรก็มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน รองลงมาจะเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย) โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์ ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา